วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555

COMPRESSOR



COMPRESSOR/LIMITER

เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมระดับความดังของเสียง ไม่ให้สัญญาณเสียงที่ออกไปมีความแรงมากเกินไป รวมทั้งทำหน้าที่อื่นๆด้วย ซึ่งหน้าที่การทำงานภายในเครื่องจะประกอบด้วยหน้าที่การทำงานหลัก 3 ส่วน ดังนี้

1. EXPANDER/GATE 

ทำหน้าที่ขยายและเปิดประตู (GATE) ให้สัญญาณเข้ามาในเครื่องตามความต้องการของผู้ใช้ ว่าจะให้สัญญาณที่มีระดับความแรงมากน้อยเท่าไรที่จะให้เครื่องเริ่มทำงาน โดยมีปุ่มปรับต่างๆในส่วนนี้คือ

1.1 ปุ่ม THRESHOLD เป็นปุ่มปรับเพื่อให้เครื่องเริ่มทำงานและหยุดทำงาน หน่วยที่ปรับมีค่าเป็น dB เช่นเราปรับตั้งค่าไว้ที่ -45 dB หมายความว่า สัญญาณเสียงที่มีระดับสัญญาณต่ำกว่า -45dB เครื่องจะไม่ทำงาน ซึ่งจะทำให้ไม่มีสัญญาณใดๆผ่านเครื่องออกไปได้ และเครื่องจะเริ่มทำงานเมื่อระดับสัญญาณมีค่าสูงกว่า -45 dB ค่าที่เราตั้งเพื่อให้เครื่องเริ่มทำงานนี้เรียกว่า "ค่าเทรชโฮลด์"

อย่างไรก็ตามถ้าเราปรับไว้ที่ตำแหน่งต่ำสุดหรือ OFF หมายความว่า สัญญาณที่มีระดับสุดแค่ไหนก็ตามก็สามารถผ่านเข้าไปในเครื่องได้ นั่นคือสัญญาณจะผ่านเข้าไปได้ทั้งหมดตลอดเวลานั่นเอง

การจะตั้งค่าเทรชโฮลด์เป็นเท่าไรนั้น ขึ้นอยู่กับว่าเราใช้เครื่องนี้ควบคุมเสียงอะไร เช่น ถ้าต้องการควบคุมเสียงสำหรับไมค์นักร้อง หรือควบคุมเสียงทั้งระบบ ให้ตั้งค่านี้ที่จุดต่ำกว่า -45 dB เพราะต้องให้ระดับเสียงเบาๆออกไปได้ แต่ถ้าควบคุมเสียงของไมค์กลองกระเดื่อง กลองสแนร์ หรือไฮแฮต ก็ให้ตั้งค่าที่สูงกว่า -45 dB ซึ่งมีค่าไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับความดังของกลองหรือเครื่องดนตรีชิ้นนั้นๆ

1.2 ปุ่ม RELEASE เป็นปุ่มสำหรับหน่วงเวลา คือหลังจากที่ประตู GATE เปิดให้สัญญาณเข้ามาในเครื่องแล้ว ถ้าไม่มีสัญญาณใดๆเข้ามาอีกหรือสัญญาณมีค่าต่ำกว่าค่าเทรชโฮลด์ที่ตั้งไว้ เกทก็จะปิด ส่วนอื่นๆของเครื่องก็ไม่ทำงาน ระยะเวลาที่ใช้ในการปิดเกทอีกครั้งหลังจากไม่มีสัญญาณเข้ามาแล้วนั้นเราเรียกระยะเวลานี้ว่า "Release Time" ปุ่มที่ทำหน้าที่ปรับระยะเวลานี้คือปุ่ม RELEASE ค่าที่บอกไว้ที่เครื่องคือ Fast หมายความว่าเกทจะปิดอย่างรวดเร็วหลังจากหมดสัญญาณ และ Slow หมายความว่า เกทจะหน่วงเวลาไว้ระยะหนึ่งจึงค่อยปิด ระยะเวลาเร็วหรือช้าแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับเราที่จะปรับตั้งค่าไว้ 

ค่า Release Time ของเกทนี้จะตั้งเป็นเท่าไรก็ขึ้นอยู่กับเสียงที่เราใช้งาน เช่นไมค์สำหรับเสียงพูดหรือเสียงนักร้อง ให้ปรับไว้ที่ประมาณบ่ายสองโมง [Slow] เพราะเสียงคนเราจะมีปลายหางเสียงเช่น เสียงตัว สิ. ,สี่.. ,ซิ... ,ซี...เอส....เฮช....ทู...ฯลฯ.. เป็นต้น ปลายหางเสียงเหล่านี้จะได้ไม่ขาดหายไป

ส่วนการปรับเสียงจากเครื่องดนตรีเช่นเสียงกลองกระเดื่อง ถ้าเราไม่ต้องการเสียงกระพือหลังจากที่เราที่เหยียบลงไปที่หน้ากลองลูกแรก ก็ให้เวลาในการปิดเกทเร็วขึ้น Fast  หรือเสียงไฮแฮตถ้าเราไม่ต้องการให้มีปลายหางเสียงมากเกินไป ให้เสียงซิบๆๆ..ซี่ๆๆ..ซิบๆๆ...ดีขึ้นก็ให้ปิดเกทให้เร็วขึ้นเพื่อปลายหางเสียงที่เบาๆจะได้ถูกตัดออกไป

**อย่างไรก็ตามปุ่มRELEASE ในส่วนของภาคEXPANDER/GATE นี้ ในเครื่องบางรุ่นอาจจะไม่มี และบางรุ่นทำเป็นสวิทช์กดให้เลือก**

1.3 ปุ่ม RATIO เป็นปุ่มทำหน้าที่ปรับลดระดับเสียงลงเป็นอัตราส่วนของ dB เมื่อเทียบค่ากับ 1 เช่น 1:1หมายความว่าสัญญาณจะไม่ถูกลดระดับเลย , 2:1หมายความว่าสัญญาณที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นเท่าไหร่ก็ตามจะถูกทำให้ลดลงสองเท่า

**อย่างไรก็ตามปุ่ม RATIO นี้ในส่วนของภาคEXPANDER/GATE ในเครื่องบางรุ่นอาจจะไม่มี**

2. COMPRESSOR 

ทำหน้าที่กดระดับสัญญาณให้ลดลงในอัตราส่วนตามค่าที่เราได้ปรับตั้งไว้ หน้าที่การทำงานของปุ่มปรับต่างๆในส่วนของภาคคอมเพรสเซอร์นี้มีดังนี้

2.1 ปุ่ม THRESHOLD เป็นปุ่มสำหรับตั้งค่าจุดเริ่มการกดสัญญาณ(จุดเทรชโฮลด์) เช่นเราตั้งค่าไว้ที่ 0 dB สัญญาณจะเริ่มลดลงที่ 0 dB และถ้าปรับตั้งไว้ที่ -10 dB ก็หมายความว่าสัญญาณเสียงจะเริ่มลดลงที่จุด -10 dB (ค่าติดลบมากเสียงจะลดลงมาก)

การลดลงของสัญญาณเสียงที่จุดเทรชโฮลด์นี้ ถ้าเป็นการลดลงอย่างรวดเร็วทันทีทันใด เราเรียกว่า ฮาร์ดนี (Hard-Knee) และถ้าให้เสียงที่ถูกกด(Compress) ค่อยๆลดลงเพื่อให้เสียงฟังดูนุ่มขึ้นเราเรียกว่า ซอฟต์นี(Soft-Knee) ซึ่งมีปุ่มให้กดเลือกใช้งานได้ แต่ปุ่มนี้จะมีชื่อเรียกทางการค้าที่แตกต่างกันไป เช่น

ยี่ห้อ dbx เรียกปุ่มนี้ว่า Over Easy 

ยี่ห้อ Behringer เรียกปุ่มนี้ว่า Interactive Knee

การตั้งค่า THRESHOLD 

เสียงดนตรี เสียงพูด และเสียงร้องเพลงทั่วๆไป จะตั้งค่าไว้ที่ 0 dB

เสียงร้องเพลงประเภท เฮฟวี่ ร็อค ฮิปพอฟ หรือเพลงวัยรุ่นประเภท แหกปากตะโกนร้อง ก็ตั้งไว้ที่ -10 dB ถึง -20 dB ให้ปรับหมุนฟังดูค่าที่เหมาะสมไม่ดังหรือค่อยจนเกินไป

2.2 RATIO เป็นปุ่มสำหรับทำหน้าที่ปรับลดระดับเสียงลงมีค่าเป็นอัตราส่วนจำนวนเท่าต่อ 1 ซึ่งจะทำงานสัมพันธ์กับค่าเทรชโฮลด์ที่ตั้งไว้คือ 

(1) เมื่อตั้งค่าอัตราส่วนไว้ที่ 1:1 สัญญาณด้านออกจะไม่ถูกกดลงเลย 

(2) เมื่อตั้งค่าอัตราส่วนไว้ที่ 2:1 สัญญาณออกจะถูกกดให้ลดลง 2เท่า เมื่อสัญญาณเข้าเพิ่มขึ้น 1dB เช่นสัญญาณเข้า +20dB สัญญาณออกจะถูกกดให้ลดลงเหลือ +10dB

(3) เมื่อตั้งค่าอัตราส่วนไว้ที่ 4:1 สัญญาณออกจะถูกกดให้ลดลง 4เท่า เมื่อสัญญาณเข้าเพิ่มขึ้น 1dB เช่นสัญญาณเข้า +20dB สัญญาณออกจะถูกกดให้ลดลงเหลือ +5dB

(4) Infinite (หมุนตามเข็มนาฬิกาสุด) สัญญาณด้านออกจะถูกกดให้ลดลงเท่ากับค่าเทรชโฮลด์ที่ตั้งไว้ 

การตั้งค่า RATIO 

เสียงพูด เสียงร้องเพลงทุกแบบ เสียงเครื่องดนตรีทั่วไป ปรับตั้งไว้ที่ 2:1 ถ้าตั้งให้ลดมากไปจะทำให้เหมือนเสียงเกิดอาการวูบวาบกระโดดไม่คงที่

2.3 ATTACK เป็นปุ่มสำหรับปรับตั้งค่าหน่วงเวลาของการเริ่มต้นกดสัญญาณ(compress) จะช่วยทำให้เสียงมีความหนักแน่นดีขึ้น มีหน่วยเวลาเป็น มิลลิวินาที(mSEC) เสียงพูด เสียงเพลงดนตรีทั่วไป ให้ตั้งค่าไว้ที่ประมาณ 40-50 mSEC เพลงคลาสสิค หรือเพลงที่มีความฉับไวของดนตรี ให้ตั้งไว้ที่ประมาณ 25-30 mSEC

2.4 RELEASE เป็นปุ่มสำหรับปรับตั้งค่าหน่วงเวลาช่วงหยุดการกดสัญญาณ จะทำให้น้ำเสียงนุ่มน่าฟังขึ้น มีหน่วยเวลาเป็นวินาที (SEC) เสียงพูด เสียงดนตรีทั่วไปให้ตั้งไว้ที่ 1.5-2 SEC 

2.5 OUTPUT GAIN เป็นปุ่มปรับลดหรือเพิ่มระดับความแรงของสัญญาณด้านขาออกของเครื่องให้มีค่าลดลงหรือเพิ่มขึ้นได้ โดยมีค่าปรับได้ตั้งแต่ -20dB ถึง +20dB ในการใช้งานปกติให้ปรับค่าไว้ที่ 0 dB

3. LIMITER

ลิมิตเตอร์ทำหน้าที่รักษาระดับสัญญาณด้านขาออกของเครื่องให้มีความแรงสูงสุดได้ไม่เกินค่าที่ตั้งไว้ เช่นตั้งไว้ที่ 0dB สัญญาณขาออกก็จะออกได้สูงสุดไม่เกิน 0dB หรือตั้งไว้ที่ +5dB สัญญาณขาออกก็จะออกได้สูงสุดไม่เกิน +5dB เป็นต้น

การตั้งค่าLIMITER 

เสียงพูด เสียงร้องเพลงทุกประเภท ให้ตั้งค่าไว้ที่ 0dB 

เสียงดนตรี กลองกระเดื่อง กีต้าร์เบส ให้ตั้งค่าไว้ที่ +5dB ถึง +10dB

เสียงเครื่องดนตรีอื่นๆ ตั้งค่าไว้ที่ 0dB

การต่อใช้งานเครื่อง COMPRESSOR

การต่อใช้งานเครื่องคอมเพรสเซอร์สามารถต่อใช้งาน ตามลักษณะประเภทของงานและตามความต้องการของผู้ใช้ได้ 4 แบบ ดังนี้

1. การต่อแบบ Channel Insert

การต่อแบบนี้เป็นการต่อใช้งานที่ดีที่สุด เพราะจะทำให้เราสามารถปรับแต่งเสียงของคอมเพรสเซอร์ แต่ละแชลแนลได้อย่างอิสระ ทั้งเสียงจากไมโครโฟนสำหรับนักร้อง และเสียงจากเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นที่แยกจากกัน 

2. การต่อแบบ Group Insert

การต่อแบบนี้จะใช้คอมเพรสเซอร์ จำนวน 2 เครื่อง [4Ch] ในกรณีที่มิกเซอร์มี 4 กรุ๊ป คือ Group 1-2-3-4 ก็ให้เราจัดกรุ๊ป 1-2 เป็น ไมค์เสียงร้องทั้งหมด และกรุ๊ป 3-4 เป็นเสียงดนตรีทั้งหมด

3. การต่อแบบ Mix Insert

การต่อแบบนี้ใช้คอมเพรสเซอร์ 1เครื่อง (2Ch) ต่อที่ตำแหน่ง Mix Insert ของเครื่องมิกเซอร์ เป็นการต่อใช้งานเพื่อควบคุมเสียงทั้งหมดที่ถูกต่อเข้าที่มิกซ์ การปรับแต่งเสียงก็จะปรับโดยรวมๆกลางๆ

4. การต่อแบบ MIXER to COMPRESSOR

การต่อแบบนี้เป็นการต่อแบบที่ง่าย สะดวก และประหยัดที่สุด เพราะเป็นการต่อที่นำเอาสัญญาณเอาท์พุทจากมิกเซอร์มาเข้าอินพุทของเครื่องคอมเพรสเซอร์ และออกจากคอมเพรสเซอร์ไปเข้าเครื่องอีควอไลเซอร์ 

การปรับแต่งเสียงก็เป็นการปรับแบบรวมๆกลางๆ เพราะทุกเสียงผ่านคอมเพรสเซอร์ทั้งหมด



เงินสดพร้อมใช้ อนุมัติง่าย รับเงินทันใจ 0% สูงสุด 4 เดือน

ประกันภัยรถยนต์

Equalizer (อีควอไลเซอร์)

       


Equalizer (อีควอไลเซอร์ )

          คือ  การปรับความถี่ของเสียง ทุ้ม  กลาง  แหลม  แบบละเอียดเพื่อให้ได้ความเหมาะสมของย่านความถี่ของเสียงที่ต้องการ ทำให้อรรถรสการฟังรับเสียงที่ไพเราะ ราบเรียบ สมจริงหรือสมบูรณ์ตามที่ผู้ฟังต้องการ

Equalizer  มีส่วนประกอบดังนี้
1.   Frequency คือ  ความถี่ที่จะปรับแต่ง
2.   Gain  คือ  ความดังของถวามถี่นั้นๆ
3.   Q  คือ  ค่าที่ใช้กำหนดความกว้างของช่วงความถี่เสียง
    ในข้อ 1 และ ข้อ 2 คงจะเข้าใจ แต่...ในข้อ 3 ซึ่งเกี่ยวกับ band width โดยตรง....ถ้าจะกล่าวคงจะยาว  แต่อธิบ่ายย่อๆ ในตอนหลัง


Equalizer  แบ่งออกเป็น 2 ชนิดหลักๆคือ

   1.Graphic Equalizer  เป็นอีควอไลเซอร์แบบแบ่งละเอียด    วิธีการปรับ...จะแบ่งเป็นความถี่นั้นๆ ที่ต้องการออกเป็นย่านความถี่ย่อย....ส่วนใหญ่มีประมาณ 31 ความถี่....เช่น...ถ้าเราต้องการความถี่ที่ 5oo Hz.จะปรับขึ้นหรือลงก็แล้วแต่...เราก็ cut หรือ boost ที่ปุ่ม 500 Hz.ได้เลยโดยที่ความถี่ข้างเคียงไม่ว่าจะเกิน 500 Hz. หรือต่ำกว่า 500 Hz. สัญญาณความถี่ที่ cut หรือ boost ก็จะไม่เกี่ยวข้องกัน

                                                                                           


Parametric Equalizer


   Parametric Equalizer  วิธีการปรับเหมือนกับ Graphic Equalizer เพียงแต่ ความถี่ข้างเคียง  เช่น  ความถี่ 500 Hz. ในด้านความถี่สูงกว่า 500 Hz. หรือต่ำกว่า 500 Hz. จะขยับขึ้นตาม .....ถ้าดูตามเส้นกราฟแล้วคล้ายกับรูปชามคว่ำ



























         ไม่ว่าจะเป็น Graphic Equalizer หรือ Parametric Equalizer จะแบ่งออกเป็น 2 แบบตาม Octave คือ 1/3 Octave (One third) หรือ 2/3 Octave (Two third)

 ใช้ประโยชน์ 
Equalizer (EQ) อย่างไร

       เช่นเราจะต้องมาทำห้องฟังเพลง ห้องซ้อม หรือทำคอนเสิร์ตในฮอลล์ เราต้องนึกถึงคำว่า room acoustic เข้ามาเกี่ยวข้องคือ  การจัด room acoustic  ของห้องฟังนั้นๆ ให้มีสภาพเป็นกลาง ไม่ cut หรือ boost ความถี่ใดความถี่หนึ่งจนเกินความเป็นกลาง (flat) เพื่อที่จะได้เสียงของมาชัดเจนและเป็นบุคลิกของเพลงที่เราฟังแต่ละเพลงซึ่งไม่เหมือนกัน  
        การทำ  Room acoustic flat ....... ส่วนใหญ่จะใช้ทำในห้องบันทึกเสียง เพื่อต้องการ "ถ่ายทอดจุดประสงค์ของนักดนตรีที่ต้องการบุคลิกของเสียงนั้น ๆ " ได้ตามความต้องการของนักดนตรีผู้นั้น  โดยที่มิได้ผิดเพี้ยนอันเกิดจากสาเหตุ acoustic ของห้องที่ไม่เป็นกลาง (non-flat) ... และการปรับ Equalizer เพื่อทำ room acoustic flat ของห้องบันทึกเสียงนั้นจะใช้การปรับครั้งเดียวให้ได้ผลที่ดีที่สุดตามที่ต้องการจากนั้นก็ไม่ต้องไปปรับอีกเลย    
            ฉะนั้น...ถ้าเราต้องการฟังเสียงเพลงเพื่อให้ได้รับความเป็นกลางของบุคลิกเพลงนั้นๆ.... เราควรจะทำห้องที่เราใช้ฟังเพลงอยู่ให้เป็นกลาง (Flat) ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
           อีกประการหนึ่ง    การทำ room acoustic flat นั้น  ทำให้เราได้ยินเสียงเพลงที่ clear ฟังสบาย  ไม่อึดอัด  ครบทุกๆ ความถี่ที่มีในเพลงนั้นๆ 

      ทีนี้...การปรับ Equalizer ให้ได้ผล 100% มากที่สุด  เราจะต้องมี"เครื่องมือ"ที่เรียกว่า Spectem Analyzer  เข้ามาเกี่ยวข้อง  วิธีการก็คือจะต้องใช้สัญญาณ sound generator ที่เรียกว่า พิงค์นอยส์ (pink noise) เอาสัญญาณออกลำโพง  แล้วจะมีไมโครโฟนที่เป็นกลางมารับสัญญาณนั้นเพื่อขยายสัญญาณออกทางจอ มอนิเตอร์  เราจะเห็นความถี่ทางจอมอนิเตอร์ออกมาเป็นสูงๆ ต่ำๆ ซึ่งความถี่ดังกล่าวนั้นจะปรับให้เสมอกันโดยใช้ Equalizer ปรับแต่ละความถี่
  

      คราวนี้...ผมมีวิธีการปรับ Equalizer ง่ายๆแบบผมมาเล่าสู่กันฟังครับ
  
1.   ปรับ Equalizer ให้ flat ทั้งหมดอยู่ที่ 0 dB
2.   ลดเสียงย่านความถี่กลางต่ำ – ต่ำ จนสุด  อาจจะเป็น -12 dB หรือมากกว่านั้น มีเท่าไรลดจนหมด 
3.   ปรับความถี่เสียงกลาง ( mid )ให้มีความหนาไม่ต้องมากครับ...พอดีๆ 
4.   ปรับเสียง low mid (250-900 Hz.) ให้เสียงอิ่มขึ้น
5.   ปรับเสียงความถี่ต่ำ( ย่าน Low ก่อนแล้วย่าน Sub-Bass ตามลำดับ ) ขึ้นมาให้มีความหนักพอควร         อย่ามากไปหรือน้อยไป
6.   ค่อยๆเพิ่มความถี่เสียงสูง ( hi ) เพื่อให้ฟังดูแล้วเสียงโปร่งใสขึ้น ฟังสบาย ไม่อับทึบ  

      เมื่อก่อนบางคนปรับ Equalizer เป็นรูปปีกนก, รูปท้องช้าง หรือรูปอะไรก็แล้วแต่ ขอบอกว่า..มันใช้ไม่ได้ครับ  เพราะเราไม่ได้เน้นที่รูปทรง  แต่เรา "เน้นที่..ความถี่ของเสียงแต่ละความถี่"

       

           ข้อควรจำ  การปรับ  Equalizer  ควรจะลดมากกว่าเพิ่มเพื่อจะได้มาซึ่ง band width ซึ่งสัมพันธ์กับค่า Q  (ฺBand width =  Frequency / Q ) และเกี่ยวเนื่องกับ phase ..... ยิ่งเพิ่มขึ้นมากเท่าใด phase shift ก็จะมากตามไปด้วย
    
           เสียงร้องจะอยู่ประมาณ 1 kHz.
           เสียง 100-500 Hz.  ถ้ายกมากเกินไปเสียงจะบวม
           เสียง 2 kHz - 4 kHz.  จะทำให้เสียงHigh frequency (ย่านสูง,แหลม,แข็ง)  






วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

MixerConsole


 

   ว่าด้วยเครื่องมือชิ้นนี้ก็แล้วกันชื่อเรียกเป็นทางการของมันก็คือ mixing console ครับ หรือจะเรียกสั้นๆว่า board ก็ได้เน้อ
ถ้าคุณเคยได้ไปเยี่ยมชมห้องอัดเสียงที่ไหนก็ตาม คุณก็จะเห็นไอ้เจ้านี่แหละ ตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่กลาง 
control room ขนาดก็ประมาณว่าเตียงเดี่ยวน่ะแหละครับ ถ้าเอากระดานมาปูทับละก็ ขึ้นไปนอนเล่นได้
เลย ปุ่มต่างๆก็ ราวๆซัก...ล้านเจ็ดสิบเอ็ดปุ่มเห็นจะได้
    บางท่านคงเคยสงสัยว่าไอ้ปุ่มต่างๆเหล่านี้มันทำงานจริงๆรึเปล่า รึว่าทำไว้โก้ๆ ให้มันน่าเกรงขามขู่คน
เล่นๆ ขอตอบว่า ทุกปุ่มต้องใช้ครับ การจะบิด จะหมุน จะยก แต่ละปุ่ม ล้วนมีผลกับเสียงทั้งสิ้น
    แล้วมันจะหมุนกันยังไงถูกล่ะน่ะ ออกจะเยอะขนาดนั้น ?

   ไม่ยากหรอกน่า ค่อยๆทำความเข้าใจมันไปทีละอย่างซิครับ มา....จะว่าให้ฟัง.........

     ปุ่มต่างๆของ mixer ใน 1 channel ชื่อของแต่ละปุ่มอาจจะ แตกต่างกันไป แล้วแต่ ยี่ห้อหรือรุ่น แต่การทำงานจะเหมือนกันครับ


       ปุ่มต่างๆของ mixer ใน 1 channel ชื่อของแต่ละปุ่มอาจจะ แตกต่างกันไป แล้วแต่ ยี่ห้อหรือรุ่น แต่การทำงานจะเหมือนกันครับ รูปที่เอามาเป็นตัวอย่างนี่เป็น ยี่ห้อ tascam ครับ

ปุ่ม trim ทำหน้าที่คล้ายๆกับ volumn คือ ถ้าหมุนปุ่มนี้ เสียงมันจะดัง-ค่อย แต่อย่าเข้าใจผิดนะครับ มันไม่ใช่ volumn ครับ มันทำหน้าที่เป็น preamp ของ channel นี้ตะหาก เพราะฉะนั้น ถ้าคุณยกมันมากไป สัญญาณก็จะ distort คือพร่า เพี้ยน แตก 

วิธีปรับ trim ที่ถูกต้องก็คือ ทำงี้ครับ ต่อแหล่งสัญญาณที่จะใช้เข้าไป เช่น mic ลดปุ่ม trim จนสุด ยก fader ข้างล่างขึ้นมาที่ 0 db จากนั้นลองพูดหรือร้องในระดับเสียงเท่าที่ใช้งานจริง ค่อยๆหมุนปุ่ม trim ขึ้นมา จนสัญญาณไฟ peak กะพริบ ก็หยุดอยู่ตรงนั้น 

ถ้าไม่มีสัญญาณไฟ peakก็ใช้หูน่ะแหละครับ ให้เสียงมันดังอยู่ในระดับสูงสุดที่ใช้งานจริง board ส่วนใหญ่จะมีไฟ peak มาให้ทั้งนั้นแหละครับ อ้อ..trim นี่มันมีอีกชื่อนึงว่า attenuator นะครับ

phantom power ถ้าคุณใช้ mic แบบ condenser เสียบที่ช่องนี้ คุณต้องใช้ปุ่มนี้ครับ condenser mic เนี่ย มันต้องใช้ไฟเลี้ยงครับ ถ้ายี่ห้อห่วยหน่อย ก็จะใช้ battery 1.5 volt หรือ 9 volt แต่ถ้าเป็น mic ชั้นดี ที่ใช้ในห้องอัดเสียง จะต้องใช้ไฟ 48 volt ครับ 

ไอ้ไฟ 48 volt นี่แหละเรียกว่า phantom power ถ้าคุณกดปุ่มนี้ board ก็จะส่งสัญญาณไฟ 48 volt ไปให้ mic ของคุณเอง แต่ถ้าคุณใช้ mic แบบ dynamic ก็ไม่ต้องกดนะครับ 


อีกอย่างที่ควรระวังก็คือ เวลาจะกดปุ่มนี้ กรุณาลด main volumn ให้สุดนะครับ ไม่งั้น ลำโพงของคุณอาจจะกระเด็นตกลงมาได้ มันจะดัง พลั่กสนั่นเลยละครับ ผมเคยโดนมาแล้ว ไม่รู้ว่าเดี๋ยวนี้เค้ามีวงจรตัดไอ้เสียงพลั่กนี่รึยัง 



mic/line ปุ่มนี้ไว้กดเลือกครับ ว่าเราใช้อุปกรณ์อะไรต่อเข้าที่ channel นี้ บางทีมันอาจจะเขียนว่า line/mic ก็ได้ครับ ถ้าสมมุติมันเขียนว่า mic/line ก็แสดงว่า ถ้าไม่กดปุ่มนี้ เราก็จะต่อ mic เข้าที่ช่องนี้ 

แต่ถ้าเราเอาอุปกรณ์ประเภท line signal เช่น เครื่องเล่นเทป,เครื่องเล่น cd, สัญญาณเสียงจากเครื่อง dvd หรือสัญญาณเสียงจาก guitar มาต่อเข้าที่ช่องนี้ เราก็ต้องกดปุ่ม mic/line ลง เพื่อบอกมันว่า เฮ้ย....ชั้นเอาไอ้นี่มาต่อไว้นะ เพราะสัญญาณจาก mic และสัญญาณ line เนี่ย ความแรงมันไม่เท่ากันครับ
mic/line ปุ่มนี้ไว้กดเลือกครับ ว่าเราใช้อุปกรณ์อะไรต่อเข้าที่ channel นี้ บางทีมันอาจจะเขียนว่า line/mic ก็ได้ครับ ถ้าสมมุติมันเขียนว่า mic/line ก็แสดงว่า ถ้าไม่กดปุ่มนี้ เราก็จะต่อ mic เข้าที่ช่องนี้ 

แต่ถ้าเราเอาอุปกรณ์ประเภท line signal เช่น เครื่องเล่นเทป,เครื่องเล่น cd, สัญญาณเสียงจากเครื่อง dvd หรือสัญญาณเสียงจาก guitar มาต่อเข้าที่ช่องนี้ เราก็ต้องกดปุ่ม mic/line ลง เพื่อบอกมันว่า เฮ้ย....ชั้นเอาไอ้นี่มาต่อไว้นะ เพราะสัญญาณจาก mic และสัญญาณ line เนี่ย ความแรงมันไม่เท่ากันครับ

หาวงดนตรี ประกันภัยรถยนต์ fastcash
เงินสดพร้อมใช้ อนุมัติง่าย รับเงินทันใจ 0% สูงสุด 4 เดือน