วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Equalizer (อีควอไลเซอร์)

       


Equalizer (อีควอไลเซอร์ )

          คือ  การปรับความถี่ของเสียง ทุ้ม  กลาง  แหลม  แบบละเอียดเพื่อให้ได้ความเหมาะสมของย่านความถี่ของเสียงที่ต้องการ ทำให้อรรถรสการฟังรับเสียงที่ไพเราะ ราบเรียบ สมจริงหรือสมบูรณ์ตามที่ผู้ฟังต้องการ

Equalizer  มีส่วนประกอบดังนี้
1.   Frequency คือ  ความถี่ที่จะปรับแต่ง
2.   Gain  คือ  ความดังของถวามถี่นั้นๆ
3.   Q  คือ  ค่าที่ใช้กำหนดความกว้างของช่วงความถี่เสียง
    ในข้อ 1 และ ข้อ 2 คงจะเข้าใจ แต่...ในข้อ 3 ซึ่งเกี่ยวกับ band width โดยตรง....ถ้าจะกล่าวคงจะยาว  แต่อธิบ่ายย่อๆ ในตอนหลัง


Equalizer  แบ่งออกเป็น 2 ชนิดหลักๆคือ

   1.Graphic Equalizer  เป็นอีควอไลเซอร์แบบแบ่งละเอียด    วิธีการปรับ...จะแบ่งเป็นความถี่นั้นๆ ที่ต้องการออกเป็นย่านความถี่ย่อย....ส่วนใหญ่มีประมาณ 31 ความถี่....เช่น...ถ้าเราต้องการความถี่ที่ 5oo Hz.จะปรับขึ้นหรือลงก็แล้วแต่...เราก็ cut หรือ boost ที่ปุ่ม 500 Hz.ได้เลยโดยที่ความถี่ข้างเคียงไม่ว่าจะเกิน 500 Hz. หรือต่ำกว่า 500 Hz. สัญญาณความถี่ที่ cut หรือ boost ก็จะไม่เกี่ยวข้องกัน

                                                                                           


Parametric Equalizer


   Parametric Equalizer  วิธีการปรับเหมือนกับ Graphic Equalizer เพียงแต่ ความถี่ข้างเคียง  เช่น  ความถี่ 500 Hz. ในด้านความถี่สูงกว่า 500 Hz. หรือต่ำกว่า 500 Hz. จะขยับขึ้นตาม .....ถ้าดูตามเส้นกราฟแล้วคล้ายกับรูปชามคว่ำ



























         ไม่ว่าจะเป็น Graphic Equalizer หรือ Parametric Equalizer จะแบ่งออกเป็น 2 แบบตาม Octave คือ 1/3 Octave (One third) หรือ 2/3 Octave (Two third)

 ใช้ประโยชน์ 
Equalizer (EQ) อย่างไร

       เช่นเราจะต้องมาทำห้องฟังเพลง ห้องซ้อม หรือทำคอนเสิร์ตในฮอลล์ เราต้องนึกถึงคำว่า room acoustic เข้ามาเกี่ยวข้องคือ  การจัด room acoustic  ของห้องฟังนั้นๆ ให้มีสภาพเป็นกลาง ไม่ cut หรือ boost ความถี่ใดความถี่หนึ่งจนเกินความเป็นกลาง (flat) เพื่อที่จะได้เสียงของมาชัดเจนและเป็นบุคลิกของเพลงที่เราฟังแต่ละเพลงซึ่งไม่เหมือนกัน  
        การทำ  Room acoustic flat ....... ส่วนใหญ่จะใช้ทำในห้องบันทึกเสียง เพื่อต้องการ "ถ่ายทอดจุดประสงค์ของนักดนตรีที่ต้องการบุคลิกของเสียงนั้น ๆ " ได้ตามความต้องการของนักดนตรีผู้นั้น  โดยที่มิได้ผิดเพี้ยนอันเกิดจากสาเหตุ acoustic ของห้องที่ไม่เป็นกลาง (non-flat) ... และการปรับ Equalizer เพื่อทำ room acoustic flat ของห้องบันทึกเสียงนั้นจะใช้การปรับครั้งเดียวให้ได้ผลที่ดีที่สุดตามที่ต้องการจากนั้นก็ไม่ต้องไปปรับอีกเลย    
            ฉะนั้น...ถ้าเราต้องการฟังเสียงเพลงเพื่อให้ได้รับความเป็นกลางของบุคลิกเพลงนั้นๆ.... เราควรจะทำห้องที่เราใช้ฟังเพลงอยู่ให้เป็นกลาง (Flat) ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
           อีกประการหนึ่ง    การทำ room acoustic flat นั้น  ทำให้เราได้ยินเสียงเพลงที่ clear ฟังสบาย  ไม่อึดอัด  ครบทุกๆ ความถี่ที่มีในเพลงนั้นๆ 

      ทีนี้...การปรับ Equalizer ให้ได้ผล 100% มากที่สุด  เราจะต้องมี"เครื่องมือ"ที่เรียกว่า Spectem Analyzer  เข้ามาเกี่ยวข้อง  วิธีการก็คือจะต้องใช้สัญญาณ sound generator ที่เรียกว่า พิงค์นอยส์ (pink noise) เอาสัญญาณออกลำโพง  แล้วจะมีไมโครโฟนที่เป็นกลางมารับสัญญาณนั้นเพื่อขยายสัญญาณออกทางจอ มอนิเตอร์  เราจะเห็นความถี่ทางจอมอนิเตอร์ออกมาเป็นสูงๆ ต่ำๆ ซึ่งความถี่ดังกล่าวนั้นจะปรับให้เสมอกันโดยใช้ Equalizer ปรับแต่ละความถี่
  

      คราวนี้...ผมมีวิธีการปรับ Equalizer ง่ายๆแบบผมมาเล่าสู่กันฟังครับ
  
1.   ปรับ Equalizer ให้ flat ทั้งหมดอยู่ที่ 0 dB
2.   ลดเสียงย่านความถี่กลางต่ำ – ต่ำ จนสุด  อาจจะเป็น -12 dB หรือมากกว่านั้น มีเท่าไรลดจนหมด 
3.   ปรับความถี่เสียงกลาง ( mid )ให้มีความหนาไม่ต้องมากครับ...พอดีๆ 
4.   ปรับเสียง low mid (250-900 Hz.) ให้เสียงอิ่มขึ้น
5.   ปรับเสียงความถี่ต่ำ( ย่าน Low ก่อนแล้วย่าน Sub-Bass ตามลำดับ ) ขึ้นมาให้มีความหนักพอควร         อย่ามากไปหรือน้อยไป
6.   ค่อยๆเพิ่มความถี่เสียงสูง ( hi ) เพื่อให้ฟังดูแล้วเสียงโปร่งใสขึ้น ฟังสบาย ไม่อับทึบ  

      เมื่อก่อนบางคนปรับ Equalizer เป็นรูปปีกนก, รูปท้องช้าง หรือรูปอะไรก็แล้วแต่ ขอบอกว่า..มันใช้ไม่ได้ครับ  เพราะเราไม่ได้เน้นที่รูปทรง  แต่เรา "เน้นที่..ความถี่ของเสียงแต่ละความถี่"

       

           ข้อควรจำ  การปรับ  Equalizer  ควรจะลดมากกว่าเพิ่มเพื่อจะได้มาซึ่ง band width ซึ่งสัมพันธ์กับค่า Q  (ฺBand width =  Frequency / Q ) และเกี่ยวเนื่องกับ phase ..... ยิ่งเพิ่มขึ้นมากเท่าใด phase shift ก็จะมากตามไปด้วย
    
           เสียงร้องจะอยู่ประมาณ 1 kHz.
           เสียง 100-500 Hz.  ถ้ายกมากเกินไปเสียงจะบวม
           เสียง 2 kHz - 4 kHz.  จะทำให้เสียงHigh frequency (ย่านสูง,แหลม,แข็ง)  






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น